วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำบ่อปลาคาร์ฟ

บ่อปลาคาร์ฟ
ขุดบ่อลึก 1.5 เมตร​ ยาว​ 3 เมตร กว้าง 1.5 เมตร

ก่อผนังด้วยอิฐบล็อก เสร็จแล้ว ทำการฉาบเรียบด้วยปูน จากนั้น ติดกระเบื้องตามลายหรือสีที่ต้องการ กระเบื้องจะไม่ติดก็ได้ แต่ที่บ้านผมติดเพื่อจะง่ายต่อการทำความสะอาดบ่อปลา



จากนั้นนำปลาคารืฟที่เตรียมไว้ ปล่อยลงบ่อ (ก่อนที่จะปล่อยปลาอย่าลืมทำความสะอาดบ่อด้วยนะครับ ปล่อยน้ำทิ้งไว้บ่อปลาซัก 3-4 วัน ก่อนปล่อยปลา)



สมาชิกใหม่

ฮิการิ-โมโยโมโน (Hikari-moyomono) กับ Hariwake




โรคปลาคาร์พที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

                    ความเจ็บป่วยที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจมีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี สารอาหารไม่เพียงพอ ดูแลไม่ดี หรือไม่ก็การควบคุมทางพันธุกรรมไม่ดี สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถถ่ายโอนไปสู่ตัวอื่นได้ เช่น

ท้องผูกหรืออาหารไม่ย่อย
ปลา Koi ทีท้องผูกหรือทุกข์ทรมานจากอาหารไม่ย่อยมักจะไม่คล่องแคล่ว นอนอยู่ที่ก้นบ่อ และท้องบวม สาเหตุมาจากการให้อาหารไม่สมดุล อาหารไม่ถูกกับปลา หรือให้อาหารมากเกิน ต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ จะเติมเกลือแมกนีเซียมซัลเฟต 1 ช้อนชาต่อน้ำ 5 แกลลอน ในถังพยาบาล ควรลดอาหารปลา 3-5 วันจนกว่ามันจะแข็งแรง ให้อาหารสดหรืออาหารแช่แข็งตลอด 1 สัปดาห์
หลังจากนั้นเอาปลากลับลงบ่อ ควรสังเกตดูปลาให้ดี เพราะอาการเหล่านี้มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นอีก
โรคถุงลม
สังเกตจากการที่ปลาว่ายน้ำได้ไม่เต็มที่ โรคนี้สามารถวินิจฉัยได้ง่าย จากการเสียสมดุลในการว่ายไปข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาจหงายท้องเลย โรคนี้เกิดจากท้องผูก การฟกซ้ำในระหว่างสัมผัส การต่อสู้ การผสมพันธุ์หรือจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีสาเหตุมาจากคุณภาพน้ำไม่ดี สิ่งเหล่านี้แก้โดยการรักษาบริเวณทีฟกซ้ำ แต่ปัญหาคือไม่สามารถตรวจดูแผลทั้งหมดได้ ถ้าสงสัยว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ก็ควรปรับปรุงคุณภาพของน้ำ และรักษาปลาด้วยยาปฏิชีวนะ ถ้าเกิดจากการท้องผูก ควรเปลี่ยนอาหารปลาและสังเกตดูความเปลี่ยนแปลง
เนื้องอก
ก้อนบวม นูน หรือเนื้องอก ดูเหมือนเม็ดพุพอง หรือหูดสามารถเอาเนื้องอกบางจุดออกได้ เนื้องอกบนเซลล์ผิวที่ถูกย้อมสีเป็นอันตรายถึงตาย และสังเกตได้จากก้อนที่หลัง เนื้องอกที่ตับก็ถูกพบในปลา Koi และก่อให้เกิดอาการท้องบวม พอง เนื้องอกทั้งสองชนิดไม่สามารถรักษาได้
ตาโปน
โรคนี้ทำให้ปลาตาโพปนจากเบ้าตา และอาการนี้สังเกตได้ง่าย ปลาที่เป็นโรคมักอยู่ในน้ำที่คุณภาพไม่ดีและมีแรงกดดัน การรักษาอาจต้องใช้เวลาหลายวันถ้าจะพัฒนาคุณภาพของน้ำ บางคนบอกว่าควรงดให้อาหารปลา 2-3 วัน จนกว่าบ่อจะได้รับการแก้ไข


ที่มา: https://koithai.wordpress.com 

สายพันธุ์ปลาแฟนชีคาร์ฟ

              จากการสังเกตจากลักษณะทางกายภาพเป็นเกณฑ์ โดยยึดลักษณะของเกล็ดเป็นเกณฑ์จะเห็นว่าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะปลาคาร์พชนิดมีเกล็ดเต็มตัว (Fully-scaled Nishikigoi)ปลาคาร์พชนิดไม่มีเกล็ด (Doitsu-goi)ซึ่งปลาทั้ง 2 ลักษณะนี้ สามารถพบได้ในทุกสายพันธุ์ของปลา โดยชนิดไม่มีเกล็ดนี้การเรียกส่วนใหญ่ จะต้องเติมคำว่า “Doitsu” ไว้ด้านหน้าหรือตามท้ายชื่อสายพันธุ์หลัก คล้ายกับ Prefix และ Subfix ของภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจถึงลักษณะของปลาที่กล่าวถึงสายพันธุ์หลักของปลาแฟนซีคาร์พ หากจำแนกตามประเภทของปลาที่ส่งเข้าประกวดตามมาตรฐาน ZNA แล้ว

สายพันธุ์ โคฮากุ (Kohaku)


สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ไทโชซันโชกุ (Taisho Sanshoku / Taisho Sanke)



















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์โชวา ซันโชกุ /ซันเก้ (Showa Sanshoku / Showa Sanke)



















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์เบคโกะ (Bekko)
















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์อุจึริโมโนะ (Utsurimono)


















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์อาซากิ (Asagi)


















สายพันุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ซูซุย (Shusui)


















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์โกโระโมะ (Koromo)

















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์โงชิกิ (Goshiki)


















สายพันธุ์ปลาคาร์พ สายพันธุ์ฮิการิ มูจิโมโนะ (Hikari muji mono)


















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ฮิการิโมโยโมโนะ (Hikari moyomono)

















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ฮิการิ อุจึริโมโนะ (Hikari Utsurimono)


















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์ตันโจ (Tancho)


















สายพันธุ์ปลาคาร์พ พันธุ์คาวาริโมโนะ (Kawarimono)


















ที่มา: https://koithai.wordpress.com


วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปลาแฟนซีคาร์ฟหรือปลาคาร์ฟ (Fancy Carp)

        ปลาแฟนซีคาร์ฟ (Fancy Carp) มีประวัติมาหลายพันปีและมีตำนานในหลายประเทศด้วยกัน 
แต่ขอเล่าเฉพาะตำนานในประเทศญี่ปุ่นอย่างย่อ เมื่อประมาณพันกว่าปีมาแล้วชาวนาที่ตั้งรกรากบนภูเขาสูง
มีอาชีพทำนาบนภูเขาสูง ได้มีการนำปลาไนชนิดนี้ไปเลี้ยงเพื่อบริโภค ฤดูหนาวหิมะจะตกหนักมาก
และเส้นทางต่างๆถูกปกคลุ่มไปด้วยหิมะถึง 4 เดือนการเดินทางค่อนข้างลำบาก ปลาคาร์พในยุคนั้น
จึงเป็นหนึ่งในเมนูอาหาร ปลาคาร์พในยุคนั้นมีแค่สีดำและสีส้ม ไม่มีความสวยงานเลย   

        ต่อมาเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ที่เมืองนิกาตะเกิดมีปลาคาร์พสีขาวและสีแดง (Kohaku ปัจจุบัน) 
และชาวบ้านได้พัฒนาสายพันธู์และลวดลายต่างๆ มากมาย ปลามีความสวยงานจนเกินที่จะนำมาเป็นอาหาร
จากนั้นมาก็มีการพัฒนาสายพันธ์ใหม่ ๆ มาเรี่อย ๆ  จนถึงปัจจุบัน 



by: บ้าน Duangkham